โครงการการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมระดับปริญญาตรี ปี 2561

กิจกรรมวิชาการ ประชาสัมพันธ์

Backdrop_wu_conference_2561

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดทำโครงการ “การนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมระดับปริญญาตรี ปี 2561” ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 24-26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เพื่อส่งเสริมให้นิสิตชั้นปีที่ 4 ได้นำเสนอความรู้และนวัตกรรมใหม่ที่เกิดจากผลงานวิจัยเชิงลึกด้านสิ่งแวดล้อมในรายวิชา 2308499 โครงงานวิทยาศาสตร์ ต่อที่ประชุมวิชาการระดับชาติ

20180525_085219-01_resized

โครงการฯ นี้ มีนิสิตชั้นปีที่ 4 เข้าร่วมทั้งสิ้น 18 คน (ชาย 4 คน และหญิง 14 คน) โดยมี ศ.ดร.วนิดา จีนศาสตร์ และอ.ดร.ชิษณุพงศ์ ชาติอาสา เป็นตัวแทนคณาจารย์ภาควิชาฯ เข้าร่วมการประชุมวิชาการฯ กับนิสิตด้วย

20180525_084206-01_resized

การประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมระดับปริญญาตรี ปี 2561 จัดโดย สมาคมสถาบันอุดมศึกษาสิ่งแวดล้อมไทย (สอสท) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ เป็นตัวแทนคณาจารย์และนิสิต-นักศึกษากว่า 150 คน จาก 17 สถาบันอุดมศึกษา ทั้งในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย โดยมีกำหนดการโดยย่อ มีดังนี้

1527553123214-02_resized

  • วันที่ 25 พฤษภาคม 2561
08.00-09.00 ลงทะเบียน
09.00-09.30 กล่าวรายงาน โดย นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาสิ่งแวดล้อมไทย
09.30-10.30 พิธีเปิด
10.30-12.00 เสวนาการวิชาการ “พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Green Energy and Health)”
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 การนำเสนอแบบบรรยาย (Oral Presentations)*
16.00-17.00 การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster Presentations)*
17.00-18.00 นิทรรศการศึกษาต่อด้านสิ่งแวดล้อม
18.00-21.00 งานเลี้ยงต้อนรับ-กิจกรรมสานสัมพันธ์
  • วันที่ 26 พฤษภาคม 2561
09.00-10.00 การบรรยายพิเศษ* โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
10.00-11.00 การนำเสนอแบบบรรยาย (Oral Presentations)*
11.00-12.00 การประชุมสมาคมสถาบันอุดมศึกษาสิ่งแวดล้อมไทย
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00 การมอบรางวัลแก่ผู้นำเสนอผลงานดีเด่น* และพิธีปิด

* แยกกลุ่มย่อยตามหัวข้อในการนำเสนอ

การประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ มีการนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย 54 เรื่อง และแบบโปสเตอร์ 105 เรื่อง ซึ่งแบ่งการนำเสนอเป็น 6 หัวข้อ ประกอบด้วย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน (ETE) อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย (EH) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CC) คุณค่าการใช้ประโยชน์และการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (NV) หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง (RI) โดยนิสิตชั้นปีที่ 4 ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้นำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย 5 เรื่อง และแบบโปสเตอร์ 8 เรื่อง  ดังนี้

  • การนำเสนอแบบบรรยาย:
[AEC] “PM10, 2.5 exposure and health risk assessment in urban parks Bangkok, Thailand”

โดย นาย กรปภาวิน สุขแสง

[AEC] “Quantifying volatile organic compounds in urban parks Bangkok, Thailand”

โดย น.ส. ธนกร ธรรมเสน

[ETE] “Treatment of wood adhesives wastewater from lumber mill via modified Fenton using iron waste from auto parts manufacturing”

โดย น.ส. อมรวรรณ ศรีสวัสดิ์

[RI] “Ecological and health risk assessments of chromium contamination in the inner Gulf of Thailand”

โดย น.ส. พัชชา ลีละกุล

[RI] “Ecological and health risk assessments of nickel contamination in the inner Gulf of Thailand”

โดย น.ส. ภคภรณ์ บ่ายบรรเทิง

20180525_145910-01-01_resized

20180525_151120-01-01_resized

20180526_103432-01_resized

  • การนำเสนอแบบโปสเตอร์:
[ETE] ความสามารถของฟางข้าวในการบำบัดน้ำมัน ไขมัน และสารแขวนลอยทั้งหมดออกจากน้ำทิ้งที่มาจากอุตสาหกรรมซูริมิ

โดย น.ส. ชวิศา วัฒนพานิช

[ETE] การบำบัดน้ำมันและไขมันในน้ำเสียชุมชนด้วยฟางข้าว

โดย นาย ณภัทร ดุรงค์พงษ์ธร

[ETE] Characteristics of carbonized briquettes from rain tree (Samanea saman) residues and coffee ground – tea waste

โดย น.ส. ณิชากร ชัยสุวรรณ

[ETE] Comparative life cycle assessment (LCA) of carbonized briquettes from rain tree (Samanea saman) residues and coffee ground-tea waste

โดย น.ส. ณัฐกานต์ ขันใส

[RI] Calibration of Granier’s thermal dissipation probes for measuring sap flux loaded hydrogels

โดย น.ส. นภัสสร สมเขาใหญ่

[RI] Treatment of wood adhesives wastewater from lumber mill using sugarcane trash biochar

โดย น.ส. สุภัสสร ตันติพูลผล

[RI] Water deficit response of stomatal conductance in lime (Citrus aurantiifolia) saplings

โดย นาย ศุภวิชญ์ เสรฐภักดี

[RI] Quantifying PM10 and PM2.5 in urban parks Bangkok, Thailand

โดย น.ส. นันทัชพร มั่นคง

20180526_123850-01_resized

ศ.ดร.วนิดา จีนศาสตร์ (นายก สอสท. และหัวหน้าภาควิชาฯ) ได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินการนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยาย ภายใต้หัวข้อ AEC ร่วมกับ Prof. Martin Hooper (Monash University, Australia) และ ดร.วรพงศ์ ตั้งอิทธิพลากร (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ) สำหรับ อ.ดร.ชิษณุพงศ์ ชาติอาสา ได้รับเชิญเป็นผู้ทรงคุณวุฒิประเมินการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ ภายใต้หัวข้อ ETE ร่วมกับคณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ

20180525_130851-01_resized

20180525_130643-01_resized

ในท้ายที่สุดนี้ ทางภาควิชาฯ ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จของนิสิตชั้นปีที่ 4 ที่เข้าร่วมโครงการฯ ในการนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ต่อที่ประชุมวิชาการสิ่งแวดล้อมระดับปริญญาตรี ปี 2561 มา ณ ที่นี้ โดยเฉพาะ น.ส.อมรวรรณ ศรีสวัสดิ์ ที่ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยายดีเด่น ภายใต้หัวข้อ ETE และ น.ส.สุภัสสร ตันติพูลผล ที่ได้รับรางวัลรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ดีเด่น ภายใต้หัวข้อ RI ซึ่งทั้งคู่ยังได้ luck draw เป็นตั๋วเครื่องบินภายในประเทศจากสายการบิน AirAsia อีกด้วย

20180526_130551-01_resized 20180526_131914-01_resized 1527480397526-01-01_resized

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการฯ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://ncenv.wu.ac.th/download/proceeding_document.pdf