ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสุดฮิตยอดนิยมในหมู่คนรักสุขภาพ ข้าวที่เป็นได้มากกว่าข้าว

ความรู้
Reference picture: ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (thairicedb.com)

ภาพรวม

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หรือ Oryza sativa เป็นข้าวที่ได้รับความนิยมมากกกกกกกก เพราะว่าตัวเค้ามีคุณค่าทางสารอาหารสูงและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงอีกทั้งยังมีผลจากงานวิจัยหลายอันที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของข้าวชนิดในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมาจึงได้มีการนำข้าวไรซ์เบอร์รี่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โจ๊ก สแน็คบาร์ และสบู่ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเพิ่มความหลายหลายให้ผู้บริโภคได้จับจ่าย โดยในงานนี้ได้ใช้การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA: Life Cycle Assessment) และประสิทธิภาพเชิงนิเวศของผลิตภัณฑ์ ทำให้ภาครัฐได้สนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดผลกระทบจากการผลิตต่อสิ่งแวดล้อมไปในตัว เพื่อเป็นการเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีให้สินค้าได้อีกด้วย

ที่มาและปัญหา

ทางภาครัฐต้องการสำรวจผลิตภัณฑ์ในด้านของสิ่งแวดล้อมโดยให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ใช้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมไปถึงต้องการเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นโจ๊ก สแน็คบาร์ สบู่ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งๆขึ้นไปและสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

แนวคิด

สำหรับการศึกษาในครั้งนี้คือการสำรวจด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์แปลรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่างๆจากการใช้ทฤษฎี LCA หรือ Life Cycle Assessment โดยใช้ Function Unit (FU) เป็น โจ๊กข้าวไรซ์เบอรร์รี่ 35 กรัม ในพลาสติกโพลีโพรพีลีนลามิเนตและพลาสติกโพลีเอทิลีนเทเรพทาเรตพร้อมถุงอะลูมิเนียม 50 กรัม สแน็คบาร์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 50 กรัม ในถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีนและสบู่ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 90 กรัม ในกระดาษคราฟท์ เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ในการเสนอนโยบายในระดับชาติว่าควรส่งเสริมผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่แปรรูปและตัดสินใจพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยการใช้ขอบเขตแบบ Cradle to grave ที่ครอบคลุมตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การแจกจ่าย การใช้ไปจนถึงการกำจัดขั้นสุดท้าย รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน

วิธีการทดลอง

นักวิจัยได้ทำการการประเมินวัฐจักรชีวิตของสินค้า (LCA) ได้เก็บรวบรวมข้อมูลของผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ตัว ตั้งแต่ต้นน้ำคือการจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ระยะการจัดจำหน่าย การบริโภคไปจนถึงการกำจัด รวมไปถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆเช่น วัตถุดิบ พลังงาน ทรัพยากรที่ถูกใช้ ในส่วนของผลลัพธ์ เช่น ผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ร่วม การปล่อยมลพิษและของเสีย และในส่วนของข้อมูลสินค้าคงคลังเบื้องต้นของขั้นตอนการปลูกข้าวได้รวบรวมจากเกษตรกร เช่น ที่ดิน เมล็ดภัณฑ์ ปุ๋ย น้ำมันพลังงานและน้ำ อีกทั้งในส่วนของผลผลิตเช่น ข้าวเปลือกที่ได้จากการปลูกและข้อมูลการปล่อย Greenhouse gas ออกมาจากแปลงข้าวได้ข้อมูลมาจาก Eco invent v.3.0 จากนั้นนักวิจัยได้ทำการประเมินผลกระทบของวงจรชีวิต จะเลือก 6 หมวดผลกระทบด้วยกันคือ ภาวะโลกร้อน, ผลกระทบต่อมะเร็งต่อสุขภาพของมนุษย์, การทำให้เป็นกรด, ความเป็นพิษต่อระบบนิเวศในน้ำจืด, การขาดแคลนน้ำ และการใช้พลังงาน และใช้วิธี Product Environmental Footprint เป็นวิธีการประเมินผลกระทบวงจรชีวิตและประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจโดยใช้ราคาขายในตลาดเป็นมูลค่าผลิตภัณฑ์

วิจารณ์และข้อจำกัด

จากการศึกษาของงานนี้พบว่าขั้นตอนการได้มาของวัตถุดิบเป็นจุดที่ทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดซึ่งเป็นเรื่องยากที่เราจะสามารถควบคุมได้ เนื่องจากแต่ละสถานที่ก็มีข้อจำกัดในการทำงานที่แตกต่างกัน ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงที่ใช้เงินในการลงทุนเพิ่มมากขึ้นอาจทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ 100% หรือเปลี่ยนแปลงไม่ได้ทั้งหมดเพราะต้องไปขอความร่วมมือทุกๆส่วนที่เกี่ยวข้อง การศึกษานี้จำกัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีอยู่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนโยบายไทยแลนด์ 4.0

อ้างอิงจากเอกสาร

Chancharoonpong, P., Mungkung, R., & Gheewala, S. H. (2021). Life Cycle Assessment and eco-efficiency of high value-added riceberry rice products to support Thailand 4.0 policy decisions. Journal of Cleaner Production, 292, 126061.

Reference picture: ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (thairicedb.com)