ผลการวิเคราะห์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากงานครบรอบ 60 ปี ภาควิชาฯ

ทำไมเราต้องคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก? ทุกคนคงรู้สึกถึงความร้อนของสภาพอากาศที่สูงขึ้น  นั่นก็เป็นผลมาจากโลกร้อนขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปสู่ชั่นบรรยากาศ ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดโดยเฉพาะ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปลดปล่อยจากกิจกรรมต่างๆของพวกเราและยังเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีมากที่สุดในบรรยากาศในตอนนี้ ก๊าซเรือนกระจกสามารถเก็บกักรังสีความร้อนจากผิวโลก แล้วคายรังสีความร้อนนั้นกลับลงมาทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกร้อนขึ้นกว่าเดิม เรามักจะเรียกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีหลายชนิดให้เข้าใจง่ายว่า การปล่อยคาร์บอน (carbon emission) นั่นเอง ในกิจกรรม “The 60th Anniversary Home Sweet Home Gen Sci & Envi Sci Family” หลังจากการวิเคราะห์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วพบว่า มีการปลดปล่อย 1.98 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ (tCO2e) โดยมีสัดส่วนส่วนใหญ่มาจากการเดินทาง และของเหลือจากการจัดงาน โดยผู้จัดงานให้ความสำคัญกับการปลดปล่อยคาร์บอน เราจึงมีกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การพกแก้วน้ำส่วนตัว ช่วยกันแยกขยะ ลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง  เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ตัวเราเอง ถ้าหากต้องการให้กิจกรรม Home Sweet Home เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon Neutral) เราต้องใช้เงินประมาณ 400 บาท เพื่อซื้อคาร์บอนเครดิต ดังนั้นถ้าเราลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ตั้งแต่แรก ปริมาณก๊าซเรือนกระจกก็จะลดลง เงินที่ต้องนำไปซื้อคาร์บอนเครดิตก็ลดลง สุดท้ายอุณหภูมิของโลกก็ลดลงเช่นกัน  อย่าลืมช่วยกันรักษาโลกของเราให้น่าอยู่ตลอดไปนะคะ 

Continue Reading

จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว ? “สารกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดโรคตับและโรคไต”!!!

สวัสดีครับ วันนี้ขอเสนอ blog สั้นๆ เรื่องเกี่ยวกับโรค สุขภาพ กับยาฆ่าแมลง ซึ่งก็เป็นงานเขียนของนิสิตจากหลักสูตรพิษวิทยาอุตสาหกรรมและการประเมินความเสี่ยงของเราครับ (และก็เป็นความรู้ แนวทางการทำวิจัยของหลายๆท่านครับ) #chulatox สวัสดีครับวันนี้ผมมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชมาเล่าให้ฟัง โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรที่ต้องฉีดพ่นสารด้วยตัวเอง สารดังกล่าวก็จะเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียร ระคายเคืองผิวหนัง เป็นต้น และรู้ไม่ว่าสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆ มีอันตรายมากกว่าที่คิด ถ้ารับเข้าในปริมาณมากๆ อย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ เกษตรกรทั่วโลกใช้สารเคมีต่างๆ เป็นเรื่องปกติมากกกก !! แต่ส่วนใหญ่ในประเทศที่กำลังพัฒนาเกษตรกรมักใช้สารต่างๆ ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเกินปริมาณที่กำหนด ไม่ใส่หน้ากาก/เสื้อแขนยาว/ถุงมือ/รองเท้ากันสารเคมี หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองแต่ไม่เหมาะสม ทำให้สารต่างๆ เข้าสู่ร่างการได้อย่างง่ายดายและมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มอาชีพเกษตรกรในประเทศไทยยังถูกจัดว่าเป็นแรงงานนอกระบบ ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิการในด้านความปลอดภัยและด้านสุขภาพ ไม่สามารถใช้สิทธิจากประกันสังคม และไม่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น ทำให้นักวิชาการทั่วโลกให้สนใจในศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชเชิงลึก ต่อเซลล์และอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตับและไต ที่ต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดสารเคมีดังกล่าวออกจากร่างกาย ในปี 2563 มีงานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจได้ประเมินผลกระทบจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชต่อการทำงานของตับและไตในเกษตรกร ที่สาธารณรัฐแคเมอรูน โดยการเปรียบเทียบเกษตรกร 58 คน กับประชาชนทั่วไป 32 คน […]

Continue Reading

พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในเกลือบริโภค !!

“เกลือ” เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสําคัญต่อชีวิตมนุษย์ ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันมนุษย์จําเป็นต้องใช้เกลือทั้งด้านการบริโภคและอุปโภค ไม่ว่าจะเป็นด้านการปรุงอาหาร การถนอมอาหาร หรือจะใช้เป็นยารักษาโรคก็ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าชีวิตมนุษย์ขาดเกลือไม่ได้ ไมโครพลาสติก (Microplastic) หมายถึง พลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งอาจเป็นพลาสติกที่ถูกผลิตมาให้มีขนาดเล็กอยู่แล้ว หรืออาจเป็นพลาสติกที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของพลาสติกขนาดใหญ่ โดยเฉพาะถุงพลาสติก และเสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ จนกลายเป็นชิ้นส่วน (Fragment) เส้นใย (Fiber) หรือแผ่นฟิล์ม (Film) ที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีขยะพลาสติกมากมายล่องลอยอยู่ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก อีกทั้งยังคงมีขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งเพิ่มเติมลงสู่มหาสมุทรอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นปริมาณมากถึงปีละ 4.8–12.7 ล้านตัน (Haward, 2018) โดยหากลองคำนวณดูจะพบว่า ขยะพลาสติกขนาด 10 เซนติเมตรนั้น เมื่อสลายตัวแล้วอาจก่อให้เกิดไมโครพลาสติกขนาด 100 ไมโครเมตร (µm) ได้ถึง 1 ล้านชิ้นเลยทีเดียว การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในเกลือสมุทร ซึ่งเป็นเกลือที่ได้มาจากการนำน้ำทะเลมาตากแดด ให้น้ำทะเลระเหยออกไปจนเหลือเพียงผลึกเกลือสีขาวนั้น หากน้ำทะเลที่ถูกผันเข้ามาผลิตเกลือสมุทรนั้นมีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ก็เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าเกลือสมุทรที่ผลิตได้ ก็ย่อมมีไมโครพลาสติกปะปนอยู่ในเกลือด้วยเช่นกัน ในงานวิจัยของ A. Vidyasakar และคณะ […]

Continue Reading

ซากแผงโซลาร์เซลล์” ขยะแห่งโลกอนาคตจำนวนมหาศาล น่ากลัวหรือไม่?

รู้หรือไม่? ปัจจุบันทั่วโลกมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากการลดลงของเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้การหาพลังงานทางเลือกอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พลังงานสะอาด” ถูกนำมาใช้แทนที่ โดยการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานเพียงแค่ 25 – 30 ปีเท่านั้น เมื่อแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้หมดอายุไปจะกลายเป็นขยะจำนวนมหาศาล ถึงแม้ตอนนี้ยังไม่เห็นภาพขยะจำนวนมหาศาลเหล่านี้ แต่เชื่อเถอะว่าอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าหากไม่มีวิธีจัดการที่ดี จะเป็นปัญหาอย่างแน่นอน!!! โดยข้อมูลการศึกษาความเป็นอันตราย จากทีมงานวิจัยประเทศอิตาลี ได้ศึกษาหาโลหะหนักที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในซากแผงโซลาร์เซลล์ ชนิดที่ทั่วโลกนิยมใช้กัน ได้แก่ ชนิด crystalline ซึ่งเป็นชนิดที่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง เกิดจากกระบวนการกวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง และ ชนิด thin film ซึ่งเป็นชนิดที่นำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกัน หากซากแผงโซลาร์เซลล์ที่กล่าวไปข้างต้นถูกทิ้งเป็นกองขยะ และมีน้ำชะล้างจะมีโลหะหนักรั่วไหลเกินค่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ทีมวิจัยทดสอบโดยใช้ Leaching test (การทดสอบคุณสมบัติการถูกชะละลายของโลหะหนัก) และนำผลไปเทียบกับ Italian and European standard ซึ่งผลการศึกษาพบว่าโลหะหนัก เช่น แคดเมียม (Cd), ตระกั่ว (Pb), นิเกิล (Ni), อะลูมิเนียม (Al) และอื่นๆ […]

Continue Reading

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสุดฮิตยอดนิยมในหมู่คนรักสุขภาพ ข้าวที่เป็นได้มากกว่าข้าว

ภาพรวม ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หรือ Oryza sativa เป็นข้าวที่ได้รับความนิยมมากกกกกกกก เพราะว่าตัวเค้ามีคุณค่าทางสารอาหารสูงและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงอีกทั้งยังมีผลจากงานวิจัยหลายอันที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของข้าวชนิดในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมาจึงได้มีการนำข้าวไรซ์เบอร์รี่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โจ๊ก สแน็คบาร์ และสบู่ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเพิ่มความหลายหลายให้ผู้บริโภคได้จับจ่าย โดยในงานนี้ได้ใช้การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA: Life Cycle Assessment) และประสิทธิภาพเชิงนิเวศของผลิตภัณฑ์ ทำให้ภาครัฐได้สนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดผลกระทบจากการผลิตต่อสิ่งแวดล้อมไปในตัว เพื่อเป็นการเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีให้สินค้าได้อีกด้วย ที่มาและปัญหา ทางภาครัฐต้องการสำรวจผลิตภัณฑ์ในด้านของสิ่งแวดล้อมโดยให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ใช้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมไปถึงต้องการเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นโจ๊ก สแน็คบาร์ สบู่ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งๆขึ้นไปและสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 แนวคิด สำหรับการศึกษาในครั้งนี้คือการสำรวจด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์แปลรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่างๆจากการใช้ทฤษฎี LCA หรือ Life Cycle Assessment โดยใช้ Function Unit (FU) เป็น โจ๊กข้าวไรซ์เบอรร์รี่ 35 กรัม ในพลาสติกโพลีโพรพีลีนลามิเนตและพลาสติกโพลีเอทิลีนเทเรพทาเรตพร้อมถุงอะลูมิเนียม 50 กรัม สแน็คบาร์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 50 กรัม ในถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีนและสบู่ข้าวไรซ์เบอร์รี่ […]

Continue Reading

แนะแนวขึ้นทะเบียนวิชาชีพที่เกี่ยวกับงานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันนี้ ผู้ที่จบการศึกษาและทำงานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (วท.บ.) มีความจำเป็นที่จะต้องชึ้นทะเบียนวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เฉพาะด้าน เช่น การควบคุมมลพิษและการประเมินผลกระบทสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจึงได้จัดแนะแนวการขึ้นทะเบียนวิชาชีพ โดยนิสิตที่สนใจสามารถ ดาวน์โหลดเอกสารได้จากลิงค์ ด้านล่าง สไลด์ แนะแนว ขึ้นทะเบียนวิชาชีพ ผู้ประสานงาน วิชา ตรี บัณฑิต August 2021 วิชาภาค EIA เชี่ยวชาญ 23 ด้าน วิธีการประเมินผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ ตัวอย่าง ประกาศสมัครสอบ EIA เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน

Continue Reading

การอบรมเพื่อสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

ในเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2561 สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการอบรม เรื่อง “การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์ และการควบคุมมลพิษ เพื่อสอบรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม” ซึ่งแบ่งเป็นด้านมลพิษทางน้ำ การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการควบคุมของเสียอันตราย โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันอื่น ๆ เป็นวิทยากรรับเชิญ

Continue Reading

การบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม”

วันศุกร์ที่ 4 พ.ค. 2561, 9.30-10.30 น. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาสิ่งแวดล้อมไทย (สอสท) ร่วมกับภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม”

Continue Reading