อาจารย์ ดร.จตุวัฒน์ จุฬาฯ คว้ารางวัล UNPSA 2024 ด้านนวัตกรรมการบริหารงานภาครัฐ จากผลงานการรับมือกับโรคระบาด

อาจารย์ ดร.จตุวัฒน์ แสงสานนท์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมคณะวิจัย ได้รับรางวัลชนะเลิศ United Nations Public Service Awards (UNPSA) สาขานวัตกรรมการบริหารงานภาครัฐ (Innovation in Public Institutions) ประจำปี ค.ศ. 2024 ในงาน United Nations Public Service Forum and Awards Ceremony จัดขึ้นในวันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2567 ณ ประเทศเกาหลีใต้ รางวัล UNPSA เป็นรางวัลของสหประชาชาติ จัดตั้งขึ้นโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN Economic and Social Council) เป็นรางวัลระดับนานาชาติที่มีเกียรติประวัติ สำหรับความเป็นเลิศในการบริการสาธารณะ โดยมุ่งเน้นผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ และสร้างคุณประโยชน์บริการสาธารณะ นำไปสู่การบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองประชาชนได้ดีขึ้นทั่วโลก สอดคล้องกับวาระและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) […]

Continue Reading

รองศาสตราจารย์ ดร. ภศิชา ไชยแก้ว จากจุฬาฯ ร่วมวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ณ ทวีปแอนตาร์กติก

รองศาสตราจารย์ ดร. ภศิชา ไชยแก้ว ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ เป็นหนึ่งในสองผู้แทนนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เดินทางไปปฏิบัติงานและศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ณ ทวีปแอนตาร์กติก ระหว่างวันที่ 7 มกราคม 2567 ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (Polar Research Institute of China; PRIC) เข้าร่วมทำงานกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีน คณะที่ 40 (CHINARE 40) ณ สถานีวิจัย Great Wall # รายงานสรุปถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (คลิก) –> บทสรุป CHINARE 40.pdf # รายการรอบตัวเรา Chula Radio Plus (ออกอากาศวันที่ 11 ก.พ. 67) # […]

Continue Reading

วิชาภาคสนามชั้นปีที่ 4 Envi Field Study 2567

ช่วงวันที่ 28-30 มีนาคม 2567 ณ สถานีวิจัยสัตว์ทะเลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้จัดให้มีกิจกรรมศึกษาภาคสนาม เพื่อให้นิสิตได้ฝึกฝนการออกภาคสนามและใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่าง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ และแปรผลเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้ความรู้ในทางสิ่งแวดล้อม ในด้านอากาศ เสียง ดิน น้ำ ป่าไม้ ขยะและของเสีย ตามรายวิชาการศึกษาภาคสนามวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (2308408) โดยกิจกรรมดังกล่าวมีนิสิตชั้นปีที่ 4 เข้าร่วม จำนวน 60 คน และมีอาจารย์และบุคลากรเข้าร่วม รวม 14 ท่าน ทางภาควิชาจึงมีภาพบรรยากาศสนุก ๆ และอบอุ่นมาฝากกันค่ะ

Continue Reading

กิจกรรม บำเพ็ญประโยชน์สู่สาธารณะ (ทริปภาค)

วันที่ 27-28 มกราคม 2567 ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้จัดทริปภาคสานสัมพันธ์ ระหว่างนิสิตชั้นปีที่ 2-4 ณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อสร้างสายสัมพันธ์รุ่นพี่รุ่นน้อง ระดมความคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และบำเพ็ญประโยชน์สู่สาธารณะผ่านกิจกรรมเก็บขยะริมชายหาดและคัดแยกไปกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีของระบบนิเวศชายฝั่ง ทางเราจึงมีภาพบรรยากาศมาฝากกัน

Continue Reading

โครงการ TRIAM TO GREEN (TTG) รณรงค์การจัดการขยะ ตามนโยบาย “ไม่เทรวม”

โครงการ TRIAM TO GREEN (TTG) รณรงค์การจัดการขยะ ตามนโยบาย “ไม่เทรวม” ของกรุงเทพมหานคร และระบบการคัดแยกขยะ Chula Zero Wasteรายละเอียด : TRIAM TO GREEN (TTG) เป็นโครงการจากนิสิตภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รณรงค์การจัดการขยะภายในโรงอาหารต้นแบบของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ตามนโยบาย “ไม่เทรวม” ของกรุงเทพมหานคร และระบบการคัดแยกขยะ Chula Zero Waste ช่องทางการติดตามกิจกรรม IG : ttg_triamtogreen ทางนิสิตภาควิชามีภาพบรรยากาศสนุกๆ มาฝากกันครับ

Continue Reading

ผลการวิเคราะห์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากงานครบรอบ 60 ปี ภาควิชาฯ

ทำไมเราต้องคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก? ทุกคนคงรู้สึกถึงความร้อนของสภาพอากาศที่สูงขึ้น  นั่นก็เป็นผลมาจากโลกร้อนขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นไปสู่ชั่นบรรยากาศ ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดโดยเฉพาะ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปลดปล่อยจากกิจกรรมต่างๆของพวกเราและยังเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีมากที่สุดในบรรยากาศในตอนนี้ ก๊าซเรือนกระจกสามารถเก็บกักรังสีความร้อนจากผิวโลก แล้วคายรังสีความร้อนนั้นกลับลงมาทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกร้อนขึ้นกว่าเดิม เรามักจะเรียกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีหลายชนิดให้เข้าใจง่ายว่า การปล่อยคาร์บอน (carbon emission) นั่นเอง ในกิจกรรม “The 60th Anniversary Home Sweet Home Gen Sci & Envi Sci Family” หลังจากการวิเคราะห์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วพบว่า มีการปลดปล่อย 1.98 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ (tCO2e) โดยมีสัดส่วนส่วนใหญ่มาจากการเดินทาง และของเหลือจากการจัดงาน โดยผู้จัดงานให้ความสำคัญกับการปลดปล่อยคาร์บอน เราจึงมีกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การพกแก้วน้ำส่วนตัว ช่วยกันแยกขยะ ลดการใช้พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง  เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ตัวเราเอง ถ้าหากต้องการให้กิจกรรม Home Sweet Home เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon Neutral) เราต้องใช้เงินประมาณ 400 บาท เพื่อซื้อคาร์บอนเครดิต ดังนั้นถ้าเราลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ตั้งแต่แรก ปริมาณก๊าซเรือนกระจกก็จะลดลง เงินที่ต้องนำไปซื้อคาร์บอนเครดิตก็ลดลง สุดท้ายอุณหภูมิของโลกก็ลดลงเช่นกัน  อย่าลืมช่วยกันรักษาโลกของเราให้น่าอยู่ตลอดไปนะคะ 

Continue Reading

ประกาศปรับพื้น วิชา ป.โท และเอก (พิษวิทยา) และการเขียนวิทยานิพนธ์/ผลงาน

ประกาศหลักสูตร วท.ม. และ วท.ด. สาขาวิชาพิษวิทยาอุตสาหกรรมและการประเมินความเสี่ยงที่ 1/2566เรื่อง ภาษาที่ใชJในการเรียนการสอน รายวิชาปรับพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติม ตามที่หลักสูตรฯ ได้ดำเนินการรับสมัครผู้ที่จะเข้าศึกษาภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 และมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการศึกษาแล้วนั้น มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 กำหนดให้ ประกาศ ณ วันที่ 26 มิถุนายน 2566(รองศาสตราจารย์ ดร. ภศิชา ไชยแก้ว)ประธานหลักสูตรฯ ดาวน์โหลดเอกสาร <<<

Continue Reading

จริงหรือไม่-ใช่หรือมั่ว ? “สารกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกิดโรคตับและโรคไต”!!!

สวัสดีครับ วันนี้ขอเสนอ blog สั้นๆ เรื่องเกี่ยวกับโรค สุขภาพ กับยาฆ่าแมลง ซึ่งก็เป็นงานเขียนของนิสิตจากหลักสูตรพิษวิทยาอุตสาหกรรมและการประเมินความเสี่ยงของเราครับ (และก็เป็นความรู้ แนวทางการทำวิจัยของหลายๆท่านครับ) #chulatox สวัสดีครับวันนี้ผมมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับอันตรายจากสารกำจัดศัตรูพืชมาเล่าให้ฟัง โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรที่ต้องฉีดพ่นสารด้วยตัวเอง สารดังกล่าวก็จะเข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียร ระคายเคืองผิวหนัง เป็นต้น และรู้ไม่ว่าสารกำจัดศัตรูพืชต่างๆ มีอันตรายมากกว่าที่คิด ถ้ารับเข้าในปริมาณมากๆ อย่างต่อเนื่องก็อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้ เกษตรกรทั่วโลกใช้สารเคมีต่างๆ เป็นเรื่องปกติมากกกก !! แต่ส่วนใหญ่ในประเทศที่กำลังพัฒนาเกษตรกรมักใช้สารต่างๆ ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการใช้สารเกินปริมาณที่กำหนด ไม่ใส่หน้ากาก/เสื้อแขนยาว/ถุงมือ/รองเท้ากันสารเคมี หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองแต่ไม่เหมาะสม ทำให้สารต่างๆ เข้าสู่ร่างการได้อย่างง่ายดายและมีอัตราการเสียชีวิตที่สูง ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มอาชีพเกษตรกรในประเทศไทยยังถูกจัดว่าเป็นแรงงานนอกระบบ ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองสวัสดิการในด้านความปลอดภัยและด้านสุขภาพ ไม่สามารถใช้สิทธิจากประกันสังคม และไม่สามารถเข้าถึงบริการต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น ทำให้นักวิชาการทั่วโลกให้สนใจในศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชเชิงลึก ต่อเซลล์และอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตับและไต ที่ต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดสารเคมีดังกล่าวออกจากร่างกาย ในปี 2563 มีงานวิจัยหนึ่งที่น่าสนใจได้ประเมินผลกระทบจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชต่อการทำงานของตับและไตในเกษตรกร ที่สาธารณรัฐแคเมอรูน โดยการเปรียบเทียบเกษตรกร 58 คน กับประชาชนทั่วไป 32 คน […]

Continue Reading

ประกาศ ทุนการศึกษาภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประจำปีการศึกษา 2565

ประกาศ ทุนการศึกษาภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ประจำปีการศึกษา 2565 (ทุนศิษย์เก่าวิทยาศาสตร์ทั่วไป-สิ่งแวดล้อม) ปีการศึกษา 2565 จำนวน 25 ทุน ทุนละ 10,000 บาท คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครขอรับทุน เป็นนิสิตภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 – 4 ในปีการศึกษา 2565 เป็นผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยและปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักฐานการสมัคร หนังสือรับรองรายได้ของบิดา/มารดา หรือผู้ปกครอง (ปกติขอจากนายจ้าง ถ้าไม่มี ให้เขียน/พิมพ์ข้อความเอง แล้วเซ็นกำกับว่าข้อมูลเป็นความจริง) ใบรับรองผลการศึกษาทุกภาคการศึกษา สำเนาทะเบียนบ้านนิสิตและผู้ปกครอง พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง สำเนาบัตรประชาชนนิสิตและผู้ปกครอง พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง สำเนาบัตรนิสิต พร้อมเซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง ใบสมัคร ส่งใบสมัครพร้อมเอกสารภายในวันที่ 30 กันยายน 65 ภายในเวลา 17.00 น.สัมภาษณ์ 11 ตุลาคม 2565 เวลา 9.00 น.- 14.00 น. […]

Continue Reading

พบไมโครพลาสติกปนเปื้อนในเกลือบริโภค !!

“เกลือ” เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสําคัญต่อชีวิตมนุษย์ ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันมนุษย์จําเป็นต้องใช้เกลือทั้งด้านการบริโภคและอุปโภค ไม่ว่าจะเป็นด้านการปรุงอาหาร การถนอมอาหาร หรือจะใช้เป็นยารักษาโรคก็ได้ จึงอาจกล่าวได้ว่าชีวิตมนุษย์ขาดเกลือไม่ได้ ไมโครพลาสติก (Microplastic) หมายถึง พลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ซึ่งอาจเป็นพลาสติกที่ถูกผลิตมาให้มีขนาดเล็กอยู่แล้ว หรืออาจเป็นพลาสติกที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของพลาสติกขนาดใหญ่ โดยเฉพาะถุงพลาสติก และเสื้อผ้าจากเส้นใยสังเคราะห์ จนกลายเป็นชิ้นส่วน (Fragment) เส้นใย (Fiber) หรือแผ่นฟิล์ม (Film) ที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีขยะพลาสติกมากมายล่องลอยอยู่ในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก อีกทั้งยังคงมีขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งเพิ่มเติมลงสู่มหาสมุทรอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นปริมาณมากถึงปีละ 4.8–12.7 ล้านตัน (Haward, 2018) โดยหากลองคำนวณดูจะพบว่า ขยะพลาสติกขนาด 10 เซนติเมตรนั้น เมื่อสลายตัวแล้วอาจก่อให้เกิดไมโครพลาสติกขนาด 100 ไมโครเมตร (µm) ได้ถึง 1 ล้านชิ้นเลยทีเดียว การปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในเกลือสมุทร ซึ่งเป็นเกลือที่ได้มาจากการนำน้ำทะเลมาตากแดด ให้น้ำทะเลระเหยออกไปจนเหลือเพียงผลึกเกลือสีขาวนั้น หากน้ำทะเลที่ถูกผันเข้ามาผลิตเกลือสมุทรนั้นมีการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก ก็เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าเกลือสมุทรที่ผลิตได้ ก็ย่อมมีไมโครพลาสติกปะปนอยู่ในเกลือด้วยเช่นกัน ในงานวิจัยของ A. Vidyasakar และคณะ […]

Continue Reading

ซากแผงโซลาร์เซลล์” ขยะแห่งโลกอนาคตจำนวนมหาศาล น่ากลัวหรือไม่?

รู้หรือไม่? ปัจจุบันทั่วโลกมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากการลดลงของเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้การหาพลังงานทางเลือกอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “พลังงานสะอาด” ถูกนำมาใช้แทนที่ โดยการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าต้องใช้แผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์มีอายุการใช้งานเพียงแค่ 25 – 30 ปีเท่านั้น เมื่อแผงโซลาร์เซลล์เหล่านี้หมดอายุไปจะกลายเป็นขยะจำนวนมหาศาล ถึงแม้ตอนนี้ยังไม่เห็นภาพขยะจำนวนมหาศาลเหล่านี้ แต่เชื่อเถอะว่าอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าหากไม่มีวิธีจัดการที่ดี จะเป็นปัญหาอย่างแน่นอน!!! โดยข้อมูลการศึกษาความเป็นอันตราย จากทีมงานวิจัยประเทศอิตาลี ได้ศึกษาหาโลหะหนักที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมในซากแผงโซลาร์เซลล์ ชนิดที่ทั่วโลกนิยมใช้กัน ได้แก่ ชนิด crystalline ซึ่งเป็นชนิดที่ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง เกิดจากกระบวนการกวนให้ผลึกเกาะกันที่แกนกลาง และ ชนิด thin film ซึ่งเป็นชนิดที่นำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบางๆ ซ้อนกัน หากซากแผงโซลาร์เซลล์ที่กล่าวไปข้างต้นถูกทิ้งเป็นกองขยะ และมีน้ำชะล้างจะมีโลหะหนักรั่วไหลเกินค่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ทีมวิจัยทดสอบโดยใช้ Leaching test (การทดสอบคุณสมบัติการถูกชะละลายของโลหะหนัก) และนำผลไปเทียบกับ Italian and European standard ซึ่งผลการศึกษาพบว่าโลหะหนัก เช่น แคดเมียม (Cd), ตระกั่ว (Pb), นิเกิล (Ni), อะลูมิเนียม (Al) และอื่นๆ […]

Continue Reading

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวสุดฮิตยอดนิยมในหมู่คนรักสุขภาพ ข้าวที่เป็นได้มากกว่าข้าว

ภาพรวม ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หรือ Oryza sativa เป็นข้าวที่ได้รับความนิยมมากกกกกกกก เพราะว่าตัวเค้ามีคุณค่าทางสารอาหารสูงและมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงอีกทั้งยังมีผลจากงานวิจัยหลายอันที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของข้าวชนิดในช่วง 4-5 ปี ที่ผ่านมาจึงได้มีการนำข้าวไรซ์เบอร์รี่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น โจ๊ก สแน็คบาร์ และสบู่ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและเพิ่มความหลายหลายให้ผู้บริโภคได้จับจ่าย โดยในงานนี้ได้ใช้การประเมินวัฏจักรชีวิต (LCA: Life Cycle Assessment) และประสิทธิภาพเชิงนิเวศของผลิตภัณฑ์ ทำให้ภาครัฐได้สนใจที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดผลกระทบจากการผลิตต่อสิ่งแวดล้อมไปในตัว เพื่อเป็นการเพิ่มภาพลักษณ์ที่ดีให้สินค้าได้อีกด้วย ที่มาและปัญหา ทางภาครัฐต้องการสำรวจผลิตภัณฑ์ในด้านของสิ่งแวดล้อมโดยให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ใช้ทุกส่วนอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมไปถึงต้องการเพิ่มมูลค่าจากการแปรรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่ เป็นโจ๊ก สแน็คบาร์ สบู่ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดียิ่งๆขึ้นไปและสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 แนวคิด สำหรับการศึกษาในครั้งนี้คือการสำรวจด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์แปลรูปข้าวไรซ์เบอร์รี่ต่างๆจากการใช้ทฤษฎี LCA หรือ Life Cycle Assessment โดยใช้ Function Unit (FU) เป็น โจ๊กข้าวไรซ์เบอรร์รี่ 35 กรัม ในพลาสติกโพลีโพรพีลีนลามิเนตและพลาสติกโพลีเอทิลีนเทเรพทาเรตพร้อมถุงอะลูมิเนียม 50 กรัม สแน็คบาร์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 50 กรัม ในถุงพลาสติกโพลีโพรพิลีนและสบู่ข้าวไรซ์เบอร์รี่ […]

Continue Reading

ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พันธนา ตอเงิน ชนะรางวัล International rising talents 2022

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับ  รองศาสตราจารย์ ดร.พันธนา ตอเงิน ชนะรางวัล International rising talents 2022 โดย the L’Oréal-UNESCO For Women in Science programme เป็นหนึ่งใน 15 คน ทั่วโลก และเป็นคนไทยที่ได้รางวัลนี้  

Continue Reading

สัมมนาปริญญาตรี ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา และวันพรุ่งนี้ 28 ตุลาคม ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมได้จัดสัมมนา ปี 4 ปริญญาตรี ในหัวข้องานวิจัยที่ตัวเองสนใจที่หลากหลาย นิสิตทำได้เยี่ยมกันทุกคนเลยครับ และสำหรับพรุ่งนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

Continue Reading

นางสาวกัญญารัตน์ ลลิตกาญจน์ นิสิตจากภาควิชาฯ ชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับรางวัล Chula Safety Embassador 2021

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวกัญญารัตน์ ลลิตกาญจน์ นิสิตจากภาควิชาฯ ชั้นปีที่ 2 ที่ได้รับรางวัล Chula Safety Embassador 2021 จากการประกวดคลิปวิดีโอขนาดสั้น หัวข้อ “New Safety Lifestyle of The Next Gen : วิถีความปลอดภัยใหม่ในแบบ Next Gen” จาก ศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (SHE CU) ได้จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัย ครั้งที่ 4 : Chula safety 2021 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

Continue Reading

แนะแนวขึ้นทะเบียนวิชาชีพที่เกี่ยวกับงานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันนี้ ผู้ที่จบการศึกษาและทำงานด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (วท.บ.) มีความจำเป็นที่จะต้องชึ้นทะเบียนวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เฉพาะด้าน เช่น การควบคุมมลพิษและการประเมินผลกระบทสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทางภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมจึงได้จัดแนะแนวการขึ้นทะเบียนวิชาชีพ โดยนิสิตที่สนใจสามารถ ดาวน์โหลดเอกสารได้จากลิงค์ ด้านล่าง สไลด์ แนะแนว ขึ้นทะเบียนวิชาชีพ ผู้ประสานงาน วิชา ตรี บัณฑิต August 2021 วิชาภาค EIA เชี่ยวชาญ 23 ด้าน วิธีการประเมินผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ ตัวอย่าง ประกาศสมัครสอบ EIA เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน

Continue Reading

ประชาสัมพันธ์ (สอบ) เพื่อขอรับใบอนุญาต สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ ครั้งที่ 1/2564

(สอบ) เพื่อขอรับใบอนุญาต สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ ครั้งที่ 1/2564 คุณสมบัติ 1. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. ต้องมีประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 3 ปี 3. สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ทางด้านวิทยาศาสตร์ และศึกษาในด้านที่จะขอใบอนุญาตเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

Continue Reading

กิจกรรมพัฒน์ภาคฯ 2564 ร่วมกับกิจกรรม Big Cleaning Day

ภาควิชาฯ จะจัดให้มีกิจกรรม พัฒน์ภาคฯ 2564 ร่วมกับกิจกรรม Big Cleaning Day ของคณะวิทยาศาสตร์ ในวันศุกร์ที่ 26 มีนาคม 2564 เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และจิตอาสาสิ่งแวดล้อมที่ดีระหว่างคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของบัณฑิตที่จะจบการศึกษาของภาควิชาฯ ดังนั้น ภาควิชาฯ จึงขอเชิญนิสิตเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย รายละเอียดเอกสารแนบ…อย่าลืมมากันเยอะๆครับ

Continue Reading

สอบสัมภาษณ์ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 ระบบ TCAS64 รอบที่ 1 ภาควิชาวิทยาศาสตรสิ่งแวดล้อม

การสอบสัมภาษณ์การรับนักเรียนเข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 ระบบ TCAS64 รอบที่ 1 ภาควิชาวิทยาศาสตรสิ่งแวดล้อมTCAS1 วันจันทร์ ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 Time: Feb 15, 2021 08:30 AM Bangkok Join Zoom Meeting https://chula.zoom.us/j/91507634735?pwd=cjZVcEFham4zTE9jcUJ6S2NqNWl5Zz09 Meeting ID: 915 0763 4735 Password: 761152 อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก

Continue Reading

Special Seminar via Zoom on Friday 5th Feb

Department of Environmental Science, Faculty of Science, Chulalongkorn University is pleased to invite you to join our Special Seminar “Digital of Toxic Metals in Qatar” by Dr.Yi Peng from FAO (United Nations), scheduled on February 5, Friday, 2021 at 11 AM via Zoom. https://chula.zoom.us/j/98184474494?pwd=K2FyQnBRMWJJdU1HMWxpMmZiYWZvQT09 Meeting ID: 981 8447 4494 Password: 747881 We are looking forward to […]

Continue Reading

Special Seminar via Zoom on Friday 29th Jan

Department of Environmental Science, Faculty of Science, Chulalongkorn University is pleased to invite you to join our Special Seminar “GIS Application for Emergency and Management & Risk Prevention” by Dr.Risa Patarasuk from Citrus County Board of Country Commissioners, Florida, USA, scheduled on  January 29, Friday, 2021 at 10 AM via Zoom. https://chula.zoom.us/j/96886782526?pwd=YmlIQU51NXlxQzNzZ1IzMlZva0dNQT09 Meeting ID: 968 8678 2526 Password: 238129 […]

Continue Reading

ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. วรพจน์ กนกกันฑพงษ์ ในการได้รับตำแหน่ง “ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จุฬาฯ”

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร. วรพจน์ กนกกันฑพงษ์ ในการได้รับตำแหน่ง “ผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ทางภาควิชาฯ ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง

Continue Reading

ขอแสดงความยินดีในการได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.พันธนา ตอเงิน ในการได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ “รองศาสตร์จารย์” สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ในการนี้ทางภาควิชาขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง

Continue Reading

ยินดีกับนิสิตรางวัลเหรียญทอง YRSS 2020

ภาควิชาวิทยาศาสร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับนิสิตปริญญาตรี นางสาวสุพิชฌาย์ สุขประเสริฐ ในการได้รับรางวัลเหรียญทอง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Young Rising Stars of Science 2020 จาก สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในหัวข้อ  Design and preliminary Implementation of innovative on-site blackwater treatment system for the green school โดยมี อาจารย์ ดร.ชิษณุพงศ์ ชาติอาสา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

Continue Reading

ฟังฟรี! สัมมนาจากหลักสูตรพิษวิทยาอุตสาหกรรมและการประเมินความเสี่ยง

ขอเชิญชวนทุกท่าน ผู้ที่สนใจ เข้ารับฟังสัมมนาจากหลักสูตรพิษวิทยาอุตสาหกรรมและการประเมินความเสี่ยงของเราครับ งานนี้ฟังฟรีและเป็น public นะครับ แชร์ได้ มาฟังกันเยอะๆครับ ลิงค์ Zoom ใน poster นะครับ วันศุกร์ที่ 13 พ.ย. นี้ เวลา 10.15-12.00 น. ครับ มากันเยอะๆนะครับ

Continue Reading

โครงการอบรมสาขาการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมขอประชาสัมพันธ์ โครงการอบรมสาขาการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ “ประเภทผู้ควบคุมมลพิษน้ำ” Module 1: 30 พ.ย. 63 – 4 ธ.ค. 63 Module 2: 14 ธ.ค. 63 – 18 ธ.ค. 63 อบรมผ่านโปรแกรม Zoom 4 วัน และ สัมมนาที่คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1 วัน

Continue Reading

จุฬาฯ MOU ความร่วมมือร่วมกับ James Cook University

เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของเรา (Environmental Science) คณะวิทยาศาสตร์ และภาควิชาในสาขาอื่นๆ เช่น Aqua Culture, Biology, Veterinary Science and Environmental Science ได้มีการเซ็น MOU ความร่วมมือนานาชาติกับ  James Cook University ภายใต้หัวข้อ Virtual MoU Signing Ceremony: New Collaboration with James Cook University ทางเราจึงขอแชร์ให้ทุกท่านได้รับชมครับ https://www.inter.chula.ac.th/en/news/6126/  

Continue Reading