Youth Voice: เสียงของเยาวชนในเวทีระดับโลก

ถ้านึกถึงภาพงานการเมือง หลายคนอาจนึกถึงห้องประชุมที่มีผู้ใหญ่เต็มไปหมด หรือภาพรัฐสภาที่มี ส.ส. กำลังอภิปรายในสภาด้วยภาษาที่ยากจะเข้าใจ แล้วสถานที่ที่มีแต่ผู้ใหญ่อยู่เต็มไปหมดแบบนี้ ภาพงานการเมืองที่มีแต่ผู้ใหญ่แบบนี้ แล้วเยาวชนแบบเราจะอยู่ตรงไหนของสมการ? หรือถ้าได้เข้าไปจริง ๆ จะเปลี่ยนอะไรได้ ในเมื่อการเมืองก็เป็นแบบนี้มาตลอดหลายปี ทั้งเปลี่ยนไม่ได้ และไม่เคยเปลี่ยน แต่ลองคิด ๆ ดูแล้วผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากภาวะโลกรวนที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น และเกิดบ่อยขึ้นในทุก ๆ วันก็ไม่เลือกเกิดนี่นา ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ แต่พวกเราเยาวชนก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม พายุเข้า ไฟป่า ฝุ่น PM2.5 และภัยพิบัติอื่น ๆ ไม่ได้ต่างไปจากผู้ใหญ่เลย ยกตัวอย่างเช่นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ที่ปัญหาฝุ่นควันหนักมาก ๆ ทำให้ต้องหยุดเรียนกันไปเป็นอาทิตย์ แล้วทำไมคนที่มีอำนาจตัดสินใจว่าจะจัดการยังไงกับภัยพิบัติ ไปจนถึงจะทำยังไงกับนโยบายสิ่งแวดล้อมอีก 20 ปีข้างหน้าถึงมีแต่ผู้ใหญ่ ซึ่งอีก 20 ปีข้างหน้า ผู้ใหญ่เหล่านั้นอาจจะไม่อยู่บนโลกแล้วก็ได้ ในขณะที่เด็กอย่างเราต่างหาก ที่จะต้องรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หนักหนา แล้วยังต้องทำตามนโยบายที่ไม่ได้เขียนเองอีก นี่แหละเลยเป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมเยาวชนอย่างเรา ๆ ถึงควรได้ที่นั่งเข้าไปฟังว่าผู้ใหญ่คุยอะไรกัน และควรมีสิทธิในการเขียนนโยบายซึ่งเป็นอนาคตของพวกเราเองด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้พาย (ผู้เขียน) ได้มีโอกาสไปงาน […]

Continue Reading

นางสาวสุนิตา สมันรัฐ ได้รับรางวัลจากโครงการ The third Community Resillience Partnership Program

นางสาว สุนิตา สมันตรัฐ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัลที่ 2 จากการนำเสนอผลงานกลุ่มร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากหลายวงการ ในหัวข้อ “กรุงเทพมหานคร กับปัญหาน้ำท่วมขังที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ” ภายใต้หัวข้อหลัก“Environmental Aspect in Urban Management” ในโครงการ The third Community Resillience Partnership Program: CRPP ที่ถูกจัดขึ้นโดย Asian Development Bank: ADB เมื่อวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สุนิตาเล่าว่า การร่วมโครงการครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดีมาก สนุกมาก ได้พบผู้คนจากหลากหลายวงการ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น climate risks หรือ climate finance ที่มีบทบาทสำคัญในการวางแผน หรือแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในบริบทความเป็นเมืองอย่างกรุงเทพมหานคร รวมทั้งได้ใช้ความรู้ที่เรียนจากภาควิชาฯ เช่น การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน หรือการระบุและประเมินผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ มาประยุกต์ใช้ในการสร้างข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการเชิงระบบของปัญหาสิ่งแวดล้อม ในการนำเสนอผลงานครั้งนี้อีกด้วย

Continue Reading

รีวิวการไป COP 29 ฉบับนักเรียนสิ่งแวดล้อม

สวัสดีค่าทุกคนหลังจากอ่านเรื่องประสบการณ์การเรียนปีหนึ่ง และประสบการณ์การสัมภาษณ์เข้าจุฬาฯ จากนักรบ เฟรชชี่ CU108 หรือ ENVI#17 กันมาแล้ว พายในฐานะ CU106 หรือ ENVI#15 ที่พอจะมีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในจุฬาฯ มาบ้าง จะมาเล่ากิจกรรม Highlight ของชีวิตการเรียนจุฬาฯ ตลอดสามปีของเราให้ฟังกันค่ะ ทุกคนเคยได้ยินการประชุม COP 29 หรือ The 2024 United Nations Climate Change Conference or Conference of the Parties of the UNFCCC หรือการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  กันมาบ้างไหมคะ พายเชื่อว่าหากผู้อ่านคุ้นเคยกับข่าวสิ่งแวดล้อมมาบ้างก็น่าจะพอคุ้น ๆ ชื่อการประชุมนี้ แต่ถ้าใครไม่เคยได้ยินมาก่อนให้ลองนึกถึงภาพการประชุมสุดยอดผู้นำโลกด้านสิ่งแวดล้อม พวกสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่เราได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ อย่าง Paris agreement หรือ ข้อตกลงปารีส เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ […]

Continue Reading