📢 Study Review | My first stint as a freshman environmental science student

Lifestyle

รีวิวประสบการณ์การเรียน เล่น เเละ ใช้ชีวิตปี 1 เทอม 1 ของนิสิตวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อม (Envi Sci CU) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กิจกรรมรับน้องภาควิชา (Envi First Meet)

คงจะไม่เกินจริงไปครับ หากจะบอกว่าภาคการศึกษาต้นปี 1 คณะวิทยาศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อมจบลงไปเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว หลังจากที่เราได้ส่งรายงาน “โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อม” ไปในระบบ MyCourseVille ซึ่งก็คงจะทําให้เราโล่งอกไปได้อีกซักพักใหญ่ 💭 อย่างน้อยก็จนกว่าจะมีการประกาศผลการเรียน เเละ อย่างมากก็ต่อเมื่อเปิดภาคการศึกษาปลายหลัง จากควันหลงของพลุในเทศกาลปีใหม่ไม่กี่วัน ✨

หากจะกล่าวถึงภาคการศึกษาต้น (ในที่นี้ขอย่อว่าปี 1 เทอม 1) คงจะไม่สามารถพูดได้ในประโยคเดียวเพราะการกลั่นความรู้สึกเป็นความทรงจํา เเละ กรองความทรงจําออกมาไม่เกิน 50 คําคงจะไม่เพียงพอ เเต่ 1 ประโยคที่เหมาะสมจะอธิบายประสบการณ์ของเราตลอด 1 ภาคการศึกษาคือนี้เลยครับ:

สนุกฉํ่า กิจกรรมฉํ่า เรียนฉํ่า สังคมฉํ่า เกรดจะฉํ่าไหมเดี๋ยวรอดู 😋

เราก็เลยอยากจะใช้พื้นที่นี้เล่า “8 Keytakeaways” ที่เราได้รับจากการเรียน 1 เทอมที่ EnviSci CU คับบผม

Part 1. เปิดเทอมใหม่ ใจว้าวุ่น👀

ปฏิเสธไม่ได้ครับว่าการเปลี่ยนสถานะจากนักเรียนมัธยมปลายกลางห้องคนนึง มาเป็นนิสิตในสถาบันชั้นนําของประเทศมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันมากโข เเละ คําถามอันมากมายยิ่งกว่า…

ตอนเรียน (Section) คืออะไร? ตัดเกรดอิงกลุ่ม (Norm-Reference Grading)คืออะไร? ติดโปร (วิทยาทัณฑ์) นี้ติดอะไรโปรโมชั่น Shopee หรือเปล่า? ลงทะเบียนเรียนทําอย่างไร? เดี๋ยวนะทําไมห้องเรียนหนึ่งมี 200 คน?

นี้เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เราพยายามหาคําตอบในช่วงก่อนเปิดเทอม หรือ ช่วงเปิดเทอมตอนเเรกครับ เเต่บางคําถามก็อาจจะะไม่ได้เป็นในเเนววิชาการเสียทั้งหมด…

พี่ครับ เเล้วผม จะมีเพื่อนหรือเปล่า?

นี้คือคําถามที่เราถามตัวเอง เเละ พี่ๆรวมไปถึงอาจารย์ที่ปรึกษาในภาควิชาบ่อยที่สุดครับ คงจะไม่เเปลกที่เราจะถามคําถามนี้เพราะเราก็เชื่อว่าหลายๆคนก็กังวลว่าจะสามารถหากลุ่มเพื่อนที่มีความสนใจคล้ายๆกันได้หรือไม่ ประกอบกับว่าไม่มีใครในโรงเรียนมัธยมปลายของเรามาเรียนในคณะสาขาเดียวกับเราด้วยครับ เเต่เราเชื่อว่าเสน่ห์ของชีวิตมหาลัยคือการที่ระบบจะทําให้เราเจอคนที่มีความสนใจ ความสามารถ เเม้กระทั่งความฝันคล้ายคลึงกัน เราพยายามเปลี่ยนตัวเองหลายอย่างครับเพื่อให้เป็นเหมือนกับคนอื่นๆ เเต่เหมือนกับว่าเราลืมความเป็นจริงบางอย่างนั้นคือ

การเป็นตัวเองมันไม่เเย่ ไม่สิ นั้นคือสิ่งที่ดีที่สุดเเล้ว

ด้วยความที่เราเป็นเด็กหน้าห้องที่ทํากิจกรรมเยอะมักก บล็อคเด็กสวนกุหลาบเลยครับเราก็เลยเจอกลุ่มเพื่อน(พวกเราเรียกกันว่ากรุ๊ป) ผู้ชายอก 3 ศอกมั้งๆๆ ที่เราก็เรียนบ้าง เล่นกีฬาบ้าง ดื่มบ้าง ชอบเล่นเกม Single Player เหมือนกัน เเละ ที่สําคัญคือไม่หล่อเหมือนกันด้วยคับบ ก็ไม่หน้าเชื่อว่าคนที่เราเคยทักสมัยม.เปิดใหม่จะเป็นกรุ๊ปที่เราสามารถไว้ใจได้ในการพูดคุยเรื่องข้อสอบ คะเเนนสอบ เเละ ช่วยกันรอด F วิชา Gen Chem ก็อยากจะบอกขอบคุณทุกคนเเหละๆรักมากๆ ตามรูปข้างล่างนี้เลย:

หน้าไปหลัง ซ้ายไปขวา: ปังย่า-นักรบ-เบส-นีโน่-ปกป้อง(ซิ่ว)-โต้ด-เอ้าท์

สุดท้ายก็อยากจะบอกทุกๆคนที่อ่านโดยเฉพาะ Envi 18 ว่า ไม่ต้องกังวลว่าเราจะไม่มีเพื่อน เพราะมหาลัยมันยาก ฉะนั้นสังคมจึงเป็นสิ่งที่สําคัญมากครับ เพราะ มันคือไม่กี่อย่างที่ทําให้เราได้เข้าใจ เเละ รู้จักตนเองมากขึ้น เเต่กุญเเจสําคัญที่จะปลดกลอนชิ้นนี้คือการเป็นตัวของตนเองครับนั้นคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ไม่มีใครเอาไปจากเราได้ 👊

Part 2. อย่างหัวอุ่นนี้เพิ่งเริ่ม 🥽

เเน่นอนครับว่ามหาลัยมีความเเตกต่างหลายอย่างกับการเรียนมัธยมปลายหนึ่งในนั้นคือเรื่องของตารางเรียน เเละ การจัดการเรียนการสอนครับ ในตอนอยู่มัธยมปลายทุกคนจะมีตารางเหมือนกัน ซึ่งไม่เหมือนกับการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยที่นิสิตเเต่ละคนไม่ใช้ตารางเรียนเดียวกันเนื่องจากใน 1 รายวิชาอาจจะมีการเรียนโดยนิสิตมากกว่า 1 คณะครับ อาทิ วิชา Gen Chem I มีการเรียนโดยนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ ครุศาสตร์ เเละ สหเวชศาสตร์บางสาขา ทําให้มีการเรียนในตอนเรียน (Section) ที่ต่างกันตามจํานวนนิสิตที่ห้องเรียน เเละ อาจารย์ผู้ดูเเลการเรียนการสอนจะสามารถจัดได้ครับ ซึ่งนี้คือตารางเรียนของเราในปี 1 เทอม 1 ครับ…

ตารางเรียนนักรบคับบ

จะเห็นว่าในเเต่ละรายวิชาจะมีรหัสวิชา ตามด้วยเลขตอนเรียน (section number) ตามหลัง เเละ มีห้องเรียนอยู่ด้วยครับ ซึ่งทําให้เราเห็นถึงข้อเเตกต่างอีกหนึ่งอย่างของการเรียนในระดับมัธยมปลาย เเละ มหาลัยนั้นก็คือการที่เราต้องเปลี่ยนห้องเรียนครับ ก็นับว่าเรามีอิสระในการเรียน เเละ การจัดการเวลา หรือ ห้องเรียนมากกว่าตอนม.ปลายมากๆๆ

เเต่สําหรับปี 1 เทอม 1 จะมีตารางเรียนเเบบสําเร็จรูปมาให้อยู่เเล้ว เนื่องจากพวกเราอาจจะยังไม่มีความเคยชินในระบบการลงทะเบียนเรียน เเละ การเปลี่ยนตอนเรียนครับ เเต่เราสามารถลงรายวิชาเพิ่มเติมได้นอกเหนือจากรายวิชาบังคับที่มีมาในตารางสําเร็จรูปหากรวมเเล้วหน่วยกิตไม่เกินจํานวนที่คณะกําหนดครับ

เราเห็นว่ายังมีเวลาว่างเหลืออยู่ เเละ ก็ยังมีหน่วยกิตพอจะสามารถลงรายวิชาอื่นๆได้ด้วยเราก็เลยตัดสินใจลงรายวิชาเพิ่มเติมหรือ “วิชาเสรี” ตามคําเเนะนําของรุ่นพี่เนื่องจากวิชาเสรีสามารถนับเป็นเกรดได้ เเละ ยังเป็นการเก็บหน่วยกิตที่จําเป็นต้องลงให้ครบเพื่อจบการศึกษาด้วยก็เลยตัดสินใจลงวิชา “Environmental Science Communication” ไปคับบซึ่งคอนเท้นต์เยอะมักๆๆ ซึ่งจะมีต่อในรีวิวนี้นะครับบ

จะเห็นว่าวิชาที่เราเรียนจะเป็นวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เเคลคูลัส ภาษาอังกฤษ เเละก็วิชาภาคครับผม (Expl World Env Sci) รวมไปถึงวิชาปฏิบัติการ 2 วิชาก็คือ Gen Bio Lab I เเละ Gen Chem Lab I คับ

เด็กเอนวายปะทะ Gen Bio I (ภาพขวาสุดไม่เเน่ใจว่าวิชาอะไร)

Part 3.อยากลงวิชาเพิ่มเเต่ติดเเลบ🥼

ในพาร์ท 2 ทุกคนอาจจะเห็นวิชาปฏิบัติการ (Lab) ไปเเล้วว่าในตารางปี 1 เทอม 1 เราต้องเรียน 2 วิชานั้นก็คือ Gen Chem Lab I เเละ Gen Bio Lab I ครับซึ่งสําหรับเราเป็นรายวิชาที่เราต้องปรับตัวในการเข้าเรียนมากที่สุดเพราะส่วนตัวเราไม่ได้เรียนจากโรงเรียนวิทยาศาสตร์มาตอนมัธยมปลายคับบ ก็เลยได้ทําปฏิบัติการเเค่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในวิชาหลัก (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิทย์โลก) ไม่ใช่เป็นวิชาเเยกเหมือนในระดับมหาวิทยาลัยคับ

ในวิชา Lab เราก็จะได้ไปเรียนในห้องปฏิบัติการเฉพาะของสาขานั้นๆจริงๆ ซึ่งก็จะมีระเบียบการเข้าห้องปฏิบัติการณ์ที่จะบอกว่า เคร่งครัด ก็อาจจะไม่ถูกไปเสียทั้งหมด เพราะกฎทุกอย่างล้วนตั้งขึ้นมาเพื่อความปลอดภัยของผู้ที่เข้าปฏิบัติการ

อย่างเเลบ Gen Chem Lab I ก็จะบังคับให้เราเเต่งชุดนิสิตพร้อมเสื้อกาวน์เข้าทุกครั้งครับ (เผื่อทุกคนอาจจะไม่ทราบเราสามารถเเต่งชุดไปรเวทสุภาพมหาลัยได้ หากไม่ได้ติดต่อราชการกับอาจารย์ที่ปรึกษา หรือ หน่วยงานมหาวิทยาลัย) หรืออย่าง เเลบ Gen Bio Lab I ก็จะมีการผ่าสิ่งมีชีวิต (กบ) ซึ่งก็จะต้องระวังเลือด เเละ เครื่องมือผ่าตัดบาดได้คับบ

เด็กเอนวายปะทะ prelab เคมี

ส่วนตัวเราค่อนข้างประทับใจ Gen Bio Lab ครับ อาจจะเป็นเพราะเราชอบ Biology กับ Ecology เป็นพิเศษอีกด้วย เเละ เรารู้สึกว่า Gen Chem Lab อาจารย์ค่อนข้างเครียดอาจจะเป็นด้วยว่าเราทํางานกับสารเคมีอันตรายอยู่ด้วย เเละ ก็เป็นการฝึกนิสิตไปในทางอ้อมๆคับ

สุดท้ายก็อยากจะบอกผู้อ่านว่าวิชาเเลบก็สําคัญ ไม่ต่างอะไรไปจากวิชาlectureครับ เพราะมีจํานวนหน่วยกิจที่ค่อนข้างเยอะ เเละ สําหรับบางคนอาจจะไม่ยากเท่าวิชาlecture คับบ ก็อย่าลืมอ่าน Lab direction กันนะคับบ

บรรยากาศการเรียน Gen Bio Lab ขณะที่อาจารย์กําลังบรรยายเรื่อง Spermatogenesis

Part 4. ขอ 1 Tab ให้วิชาภาค🌏

นอกจากวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เเละ วิชาปฏิบัติการณ์ซึ่งเราเรียกวิชากลุ่มนี้รวมๆว่าวิชาคณะ เราก็ยังมีอีก 1 วิชาที่ต้องเรียนในปี 1 เทอม 1 ครับนั้นก็คือวิชา Exploring The World of Environmental Science หรือเรียกสั้นๆว่าวิชาภาคครับ เพราะภาควิชาเราเป็นคนจัดการเรียนการสอน เเละ มีการเรียนที่ห้อง 101 ตึกภาคคับ (ห้องเดียวกันกับที่มีการจัดรับน้องภาควิชา) ก็ต้องเดินซักนิดนึงจากอาคารมหามกุฎมาที่ตึกภาคตอนพักเที่ยงคับบ

วิชานี้เป็นวิชาที่เราชอบมากที่สุดของปี 1 เทอม 1 ละคับบ เพราะเราจะได้เรียนกับอาจารย์ทุกท่านในภาคเลยคับบ เป็นการเเนะนําทุกๆมิติของวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อมเช่น การจัดการทรัพยากรนํ้า, ความยั่งยืนเเละ Fast Fashion, ปัญหาขยะมูลฝอย เเละ ไมโครพลาสติก, เเม้กระทั่งการเเก้วิกฤตโลกเดือดด้วยการรักษาหน้าดิน เเละ การเกษตรอย่างยังยืนเพื่อต่อสู้กับความน่าปวดหัวของระบบทุนนิยม, ไปจนถึงการใช้ข้อมูลจาก GIS วิเคราะห์ฝุ่นเเละ การสร้างเครื่องกรองอากาศเสียให้รถไฟฟ้า MRT ด้วยจุลินทรีย์อีกทั้งยังได้เเลกเปลี่ยนอย่างสร้างสรรค์ เเละ เป็นกันเอง (บางคาบเป็นกันเองจนอาจารย์ต้องเข้ามา moderate 👀) กับรุ่นพี่ที่ทําอาชีพเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เเละ เทคโนโลยีสิ่งเเวดล้อมไม่ว่าจะเป็นในระดับรัฐวิสาหกิจ, รัฐบาล, การสื่อสารวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อมในองค์กร หรือ เเม้กระทั่งรุ่นพี่ที่เคยมีประสบการณ์ไปหารือกับ Joe Biden ในเรื่องปัญหาสิ่งเเวดล้อม เเละ การจ้างงานคับบ

วิชานี้จะเเบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ก่อนกลางภาคต้น เเละ หลังกลางภาค โดยก่อนกลางภาคจะเป็นการเเบ่งปันประสบการณ์ของรุ่นพี่ที่ประสบความสําเร็จในการทําให้วิทยาศาสตร์ เเละ เทคโนโลยีสิ่งเเวดล้อมเป็นวิชาชีพ เเละ หลังกลางภาคจะเป็นการบรรยายของอาจารย์ครับ โดยวิชานี้มีงานคือเราจะต้องสรุปใจความสําคัญของการบรรยายเเต่ละครั้งเป็น essay ตามจํานวนหน้าที่อาจารย์กําหนด เเละ ไปสัมภาษณ์รุ่นพี่ที่ทํางานในสาขาครับ เเละ มีสอบรอบเดียวคือการสอบปลายภาค โดยเนื้อหาในการสอบปลายภาคจะมาจากการบรรยายในครึ่งหลังกลางภาคทั้งหมดคับบ

ส่วนตัวคลาสที่เราชอบที่สุดคือ คาบของอาจารย์ ดร. ศุภวิน วัชรมูล (อาจารย์ที่ปรึกษาของเราเอง) เรื่อง Tiny Things Big Impact ที่อาจารย์ท่านอธิบายเรื่อง Environmental Microbiology ครับเป็นการเอาสาหร่ายหรือเเบคทีเรียมาใช้บําบัดของเสียทางสิ่งเเวดล้อม เเละ สิ่งปฏิกูลจากโรงงานอุตสาหกรรมคับบ ทําให้เราเห็นว่าทําไมเราต้องเรียน General Biology I เเละ II 💭 เเละก็คาบของอาจารย์ รศ. ดร. นุตา ศุภคต ที่อาจารย์พูดเรื่องการผลกระทบของ Microplastic ต่อชีวนิเวศ เเละ มนุษย์คับบ

บรรยากาศการเเต่งชุดนักเรียนหลังเรียนวิชาภาค (Back to School)

Part 5. เรียนยากขนาดนี้ ลืมวิชาเสรีหรือเปล่า😝

ไม่ลืมเเน่นอนครับ เเต่ก่อนจะพูดถึงวิชาเสรีที่เราได้เรียนในปี 1 เทอม 1 เราขอพูดถึง “วิชาเสรี หรือ Free Electives” ก่อนนะครับ

วิชาเสรีคือวิชาอะไรก็ได้ที่เราจะต้องเรียนให้ครบตามจํานวนหน่วยกิตที่คณะกําหนดในการจบการศึกษา เเละ มีการตัดเกรดเป็นเเบบตัวอักษร (letter grading) ครับ โดยเราอาจจะไปลงวิชาของต่างคณะ หรือ ต่างสาขาก็ได้ เเต่ในเทอมนี้เราเลือกลงเป็น “วิชาเสรีภาค” ครับ ก็คือทางภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อมเปิดรายวิชาให้นิสิตลงได้ 2 วิชาคือวิชา Everyday Science เรียนวันศุกร์บ่าย เเละ วิชา Environmental Science Communication ดูเเลโดยอาจารย์ รศ.ดร. นุตา ศุภคต เรียนวันจันทร์บ่ายครับ

จากการที่มีพี่ๆปี 2 เเนะนําว่าให้ปี 1 ลงวิชาเสรีเพราะกลัวเกรดในวิชาหลักจะตก อยากจะให้มีวิชาเสรีค่อยช่วยเกรดไว้ครับ ส่วนตัวตอนนั้นเราค่อนข้างกังวลวิชา Calculus I for Bioscience เพราะเราไม่ค่อยถนัดวิชาคํานวณคับบ🙄 ก็เลยตัดสินใจลงรายวิชาของอาจารย์ นุตา เพราะว่าเราไม่ว่างเรียนช่วงวันศุกร์เพราะติดเรียนวิชาเเลบ General Biology I ซึ่งคลาสอาจารย์นุตาเริ่มเรียนในวันเปิดเทอมเลยครับ

ชื่อไทยของวิชาอาจารย์นุตา คือ การสื่อสารวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อม ครับ เราจะเรียนเป็น project-based class โดยคะเเนน 70% มาจากการทํา โครงงานสื่อสารวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อม เเละ 30% จากการเข้าเรียน เเละ เข้าร่วมกิจกรรมภายในห้องเรียนครับ จะเห็นว่าวิชานี้ให้ความสําคัญกับการปฏิบัติโครงงานวิทย์สิ่งเเวดล้อมมากเลยครับ ซึ่งต้องยอมรับว่านี้เป็นโครงงานที่เราเหนื่อยฉํ่ามากที่สุดตั้งเเต่อยู่ม.6 เลยคับบ 🔥

ในก่อนกลางภาคเราจะเรียนเกี่ยวกับ ทฤษฎีการสื่อสาร เเละ การสื่อสารวิทยาศาสตร์รวมไปถึงไปฟังบรรยายจากอาจารย์จากต่างชาติ เเละ พี่ๆ Chula Zero Waste ที่มีประสบการณ์การรณรงค์ทางสิ่งเเวดล้อมในระดับนานาชาติครับ อย่างในคาบเเรกเลย เราจะได้ฟังบรรยายเเบบ exclusive จาก Dr. Oluseye Oludoye ซึ่งอาจารย์ท่านเคยมาทํา post-doc กับอาจารย์นุตา เเละ ปัจจุบันทํางานอยู่ที่ School of Health and Life Sciences at Teesside University เรื่อง Theory of Planned Behavior ครับ ช่วงก่อนกลางภาคชิวมากคับบ ฟังบรรยายฉํ่า เเอร์ก็เย็นฉํ่า เเต่หลังกลางภาคโดยเฉพาะช่วงก่อนสอบไฟนอลนี้เหนื่อยฉั่าเลยครับ

ช่วงหลังกลางภาคจะเเตกต่างจากก่อนกลางภาคมาก เพราะจะเป็นช่วงที่อาจารย์ให้โจทย์กับพวกเราเพื่อไปจัดทําโครงงานสื่อสารวิทยาศาสตร์สิ่งเเวดล้อมเพื่อลดการใช้ขยะพลาสติกในตลาดนัดประจําสัปดาห์ 1 ที่ในมหาลัยครับ โดยเป็นโครงงานกลุ่มซึ่งเราจะต้องสอบนําเสนอข้อเสนอโครงงาน จัดทําสื่อ จัดทําเเบบสอบถาม ไปรณรงค์ในสถานที่จริง สอบนําเสนอผลลัพธ์ของการรณรงค์ เเละ ส่งรายงานครับ ซึ่งมีเวลาจัดทําโครงงาน 5 สัปดาห์เเละสามารถส่งรายงานได้วันสุดท้ายคือวันที่ 13 ธันวาคม ครับ

เเต่ละกลุ่มจะมีพี่ TA 1 คนซึ่งพี่เค้าจะช่วยเราจนจบโครงงาน (เเต่เราก็ต้องเขียนเอง ทํา presentation เอง เเบ่งงานกันเองนะคับบ พี่เค้าเเค่จะช่วยขัดเกลาก่อนส่งให้อาจารย์) พร้อมทั้งได้รับเงินสนับสนุน 10,000 บาทในการทําโครงงาน

โจทย์ที่กลุ่มของเราได้รับคือ ลดการใช้ขยะพลาสติกในตลาดนัดประจําสัปดาห์คณะเเพทยศาสตร์ครับบ 😅ว้าวุ่นนสิคับบ ไม่เคยไปเลยย อีกอย่างเราก็ไม่ได้สนิทกับเพื่อนในกลุ่มขนาดนั้นด้วยย สรุปก็คือว่าเพื่อนๆอยากให้เราเป็น Group Leader ครับเพราะว่าเราเคยทํางานเเบบนี้มาก่อนตอนอยู่มัธยมปลาย เราก็เลยพยายาม เเละ พยายามที่จะทําให้มันดีที่สุดคับบ

ความพยายามของเราออกมาเป็น project แลก แต้ม รักษ์ โลก: กิจกรรมเสริมการขายเพื่อลดการใช้ขยะพลาสติกในตลาดประจำสัปดาห์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครับเราใช้ของรางวัลเป็นเครื่องมือส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อมในตลาด โดยมีการใช้สื่อใน Instagram เป็นกระบอกเสียง เเละ ทําการรณรงค์ในตลาดด้วยวิธีการรณรงค์เชิงรุก (รุกเเบบเชิญทุกคนที่ถือกระบอกนํ้าเข้าบู้ตทันที 🙄) ส่วนหนึ่งถ้าจะถามเราว่าโครงงานนี้สําเร็จไหม เราคงจะตอบว่า เราเชื่อว่ามันสําเร็จครับ เพราะ

โครงงานนี้ไม่ใช่การเเลกเเต้ม เเต่เราเเลกคุณค่าครับ เพราะเราอยากจะทําให้ผู้ใช้ตลาดเชื่อว่าการลดการใช้ขยะพลาสติกทําได้ไม่ยาก เเละ เราเริ่มต้นได้ เเละ บอกคนอื่นให้เริ่มได้เช่นกัน

เเต่ว่าถ้า project หนึ่งที่เราทําเเล้วได้รู้จักเพื่อน เเละ ตัวเองมากขึ้น ได้รู้ว่าเราก็ไม่ได้สมบูรณ์เเบบ พวกเขาก็ไม่ได้ต่างกัน เเต่เราก็ทํามันจนเสร็จ จะเรียกว่ามันไม่สําเร็จได้หรอคับบ

Part 6. วัยรุ่นหาทํา (ไปหมดทุกอย่าง)⛺

ใช่ครับทุกๆคนเราหาทําเยอะมากก เเต่อาจจะไม่เยอะเท่าเพื่อนๆหลายคนในภาคที่เป็นคทากร, cheerleader, color guard หรือว่านักดนตรี เเต่เราว่าก็น่าจะพอตัวอยู่ เเละนี้คือกิจกรรมที่เราได้ทําไปในปี 1 เทอม 1 คับบ…

  • ตัวเเทนภาควิชาวันไหว้ครูคณะ
  • ตัวเเทนภาควิชาเข้าร่วม International Conference of Asean Microplastic Pollution
  • ลูกค่ายค่ายอนุรักษ์ อุทยานเเห่งชาติกุยบุรี
  • สมาชิก (ไม่บริหาร) ชมรมอนุรักษ์จุฬา
  • ตัวเเทนภาควิชาจัด OpenHouse คณะวิทย์
  • รณรงค์ลดการใช้ขยะพลาสติกในนามภาควิชา ภายใต้โครงการเเลกเเต้มรักษ์โลก
  • ตัวเเทนภาควิชาจัดทําสื่อเพื่อนําเสนอภาควิชาตลอดปี 2568

ก็คงจะหาทําได้ประมาณนี้ครับเดี๋ยวจะไม่มีเวลาอ่านหนังสือเตรียมสอบเเล้วว เเต่เราเชื่อว่าเสน่ห์ของภาควิชาเราคือการที่นิสิตส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนอย่างเดียวอยู่เเล้วครับ จะต้องไปทํากิจกรรมไม่ว่าจะในรูปเเบบใดรูปเเบบหนึ่งอยู่ตลอด

Part 7. รีวิวการสอบ เเละ “เข้าเดือน” 🌚

เพราะว่าตอนปี 1 เทอม 1 เราเรียนรายวิชาพื้นฐานเป็นส่วนใหญ่ทําให้การเก็บคะเเนนมักจะมาพร้อมกับการสอบกลางภาค (Midterm) เเละ ปลายภาค (Final) ครับบ ซึ่งส่วนใหญ่ Midterm จะเป็นคะเเนนเก็บ 50% เเละ ที่เหลืออาจจะมาจาก final หรือว่า final รวมกับการบ้านเช่นทําโจทย์เคมี 2–3 ข้อในคาบเรียน หรือ การบ้านท้ายบทคับ

ด้วยความที่การสอบเเต่ละครั้งมีคะเเนนเยอะะมักก เเบบสามารถตัดสินชะตากรรมว่าเราจะ F หรือ D หรือ B หรือ A ได้เลยย 🤔 นิสิตจุฬาเลยมีการอ่านหนังสือล่วงหน้าเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนก่อนเทศกาลสอบทั้ง final เเละก็ midterm จึงเรียกว่า “เข้าเดือน” คับบ ซึ่งปกติเด็กจุฬาจะเข้าไปใช้ห้องสมุดกลาง “หอกลาง” เเต่ใช้อาจจะน้อยไปครับ ใช้คําว่า “สิง👻” เลยน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะพวกเราไปนอนที่หอสมุดกลางเลยครับ สําหรับเพื่อนๆที่บ้านอาจจะอยู่ไกล หรือ อยู่ต่างจังหวัดก็อาจจะไปอยู่หอของเพื่อนที่อยู่ใกล้มหาลัยคับบ

ส่วนตัวเราชอบไปอ่านที่ Samyan Co-Op Space ละก็ที่อาคารจามจุรี 9 “จาม 9” ที่ก็เป็นสถานพยาบาลนิสิตด้วยครับ เพราะใกล้สถานี MRT ละก็บรรยากาศชวนอ่านที่สุดละะ

ของเราเวลาอ่านหนังสือเน้นเขียนสรุปเป็นภาษาที่เราเข้าใจคับบ ละก็ทําโจทย์เดิมที่อาจารย์เคยเน้น ส่วนในวิชาปฏิบัติการณ์ก็อ่านพวก report ที่อาจารย์เคยให้จดบันทึกผลการทดลองคับบ โน้ตเราเป็นเเบบข้างล่างเลยย…

วิชาที่เรารู้สึกว่าหนาวว 🥶 ก็คือ Gen Chem I คับบ เพราะว่ายากที่สุดเเล้ว ละก็มีวิธีการสอนที่ต่างจากตอนม.ปลายมากก เเต่สําหรับเราตอนนี้เรายังสามารถจัดการมันได้อยู่ครับ

Part 8. ชีวิตนี้มี ปี 1 เทอม 1 เเค่1 ครั้ง 🗯

สุดท้ายนี้เราก็อยากจะบอกทุกๆคนว่า เวลาในภาคการศึกษาต้น ปี 1 ผ่านไปเร็วมากครับ เเละ เวลาเป็นเรื่องตลก เพราะมันเป็นสิ่งสัมพัทธ์กับความรู้สึก เเละ มันไม่ได้เกิดเเค่กับเราครับ เพราะเพื่อนๆหลายคนก็รู้สึกเหมือนกัน ก็เลยอยากจะบอกน้องว่าๆ ไม่ว่าเราจะอยากทําอะไรไปทําให้ฉำ่เลยครับ เพราะ นี้เป็นโอกาสไม่กี่ครั้งที่โลกยังใจดีกับเราอยู่ เเต่ก็อย่าลืมดูเเลตัวเองด้วยย อย่าหักโหมจนเกินไป เพราะตัวเรานี้เเหละครับ สําคัญที่สุดเเล้ว ก่อนที่จะเปลี่ยนโลก อย่าลืมดูเเลตัวเองนะคับบ 😝

4 thoughts on “📢 Study Review | My first stint as a freshman environmental science student

  1. I’m not that much of a online reader to be honest
    but your blogs really nice, keep it up! I’ll go ahead and bookmark your site to come back down the road.

    Cheers

    my web-site – SEC

  2. Definitely believe that which you stated. Your favorite justification seemed to be at the net the simplest factor to have in mind of.
    I say to you, I definitely get irked whilst
    other people think about concerns that they just don’t recognise about.

    You managed to hit the nail upon the highest as smartly
    as defined out the whole thing with no need side-effects , people could take a
    signal. Will likely be again to get more. Thank you

    Here is my web page … Marissa

  3. เวลาผ่านไปเร็วมากจริงๆ ครับ อย่าลืมให้ความสำคัญกับตัวเองและทำสิ่งที่ดีในทุกๆ โอกาสที่มาถึง!Telkom University Jakarta

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *